บริการเงินกู้เพื่อสมาชิก

หลักเกณฑ์การพิจารณาเงินกู้พิเศษ และการประเมินราคาหลักทรัพย์

ข้อ 1 การจัดกลุ่มหลักทรัพย์ตามจังหวัด และอัตราค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์
จังหวัด/อำเภอ

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 1

ไม่เสียค่าค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 2

ปริมณฑลค่าธรรมเนียมในกาประเมินราคาหลักทรัพย์ 300.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 3

ระยะทาง ไม่เกิน 110 กม. ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์ 500.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 4

ระยะทาง ไม่เกิน 160 กม. ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์ 700.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 5

ระยะทาง ไม่เกิน 200 กม. ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์ 900.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 6

ระยะทาง ไม่เกิน 300 กม. ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์ 1,350.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์ที่

7

ระยะทาง ไม่เกิน 400 กม. จัดหาบริษัทประเมินราคาโดย สหกรณ์ช่วยชำระค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์ 50%

กรุงเทพมหานคร
นนทบุรี
สมุทรปราการ
ปทุมธานี
ทุกเขต/
ทุกอำเภอ

       
ฉะเชิงเทรา
นครปฐม
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
พระนครศรีอยุธยา
 

ทุกอำเภอ


     
ราชบุรี     บ้านโป่ง
บางแพ
โพธาราม
ดำเนินสะดวก
ปากท่อ
วัดเพลง
เมือง
จอมบึง
บ้านคา
สวนผึ้ง
กาญจนบุรี      ท่ามะกา เมือง
ท่าม่วง
พนมทวน
ด่านมะขามเตี้ย
เลาขวัญ
ห้วยกระเจา
บ่อพลอย
ไทรโยค
หนองปรือ
ทองผาภูมิ
ศรีสวัสดิ์
สังขละบุรี
สุพรรณบุรี เมือง
บางปลาม้า
สองพี่น้อง
ศรีประจันต์
อู่ทอง
ดอนเจดีย์
สามชุก
เดิมบางนางบวช
หนองหญ้าไซ
ด่านช้าง
อ่างทอง เมือง
ป่าโมกข์
ไชโย
โพธิ์ทอง
วิเศษไชยชาญ
สามโก้
แสวงหา
สิงห์บุรี เมือง
พรหมบุรี
ท่าช้าง
ค่ายบางระจัน
บางระจัน
อินทร์บุรี
สระบุรี เมือง
หนองแค
หนองแซง
วิหารแดง
ดอนพุด
เสาไห้
แก่งคอย
เฉลิมพระเกียรติ
บ้านหมอ
หนองโดน
พระพุทธบาท
มวกเหล็ก
วังม่วง
นครนายก เมือง
องครักษ์
บ้านนา
ปากพลี
ปราจีนบุรี เมือง
บ้านสร้าง
ศรีมโหสถ
ศรีมหาโพธิ์
ประจันตคาม
กบินทร์บุรี
นาดี
ชลบุรี

เมือง
พานทอง
พนัสนิคม
บ้านบึง
ศรีราชา

เกาะจันทร์
พัทยา
บางละมุง
หนองใหญ่
เกาะสีชัง
บ่อทอง
สัตหีบ
ระยอง ปลวกแดง
บ้านฉาง
เมือง
นิคมพัฒนา
วังจันทร์
บ้านค่าย
เขาชะเมา
แกลง
เพชรบุรี เมือง
บ้านแหลม
เขาย้อย
หนองหญ้าปล้อง
บ้านลาด
ท่ายาง
แก่งระจาน
ชะอำ
ชัยนาท สรรพยา
หันคา
สรรคบุรี
เนินขาม
เมือง
มโนรมย์
วัดสิงห์
หนองมะโมง
ลพบุรี เมือง
ท่าวุ้ง
พัฒนานิคม
บ้านหมี่
โคกสำโรง
ลำสนธิ
สระโบสถ์
หน่องม่วง
ท่าหลวง
ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน
ปราณบุรี
สามร้อยยอด
กุยบุรี
เมือง
ทับสะแก
บางสะพาน
บางสะพานน้อย
อุทัยธานี เมือง
หนองขาหย่าง
หนองฉาง
ทัพทัน
บ้านไร่
ห้วยคต
สว่างอารมณ์
ลานสัก
นครวรรค์ ตาคลี
ตากฟ้า
พยุหะคีรี
ไพศาลี
เมือง
โกรกพระ
ท่าตะโก
หนองบัว
เก้าเลี้ยว
ชุมแสง
ลาดยาว
บรรพตพิสัย
ชุมตาบง
แม่เปิน
แม่วงก์
เพชรบูรณ์ ศรีเทพ
วิเชียรบุรี
บึงสามพัน
หนองไผ่
ชนแดน
วังโป่ง
เมือง
เขาค้อ
หล่มสัก
พิจิตร ดงเจริญ บึงนาราง
บางมูลนาก
โพทะเล
ทับคล้อ
ตะพานหิน
โพธิ์ประทับช้าง
วังทรายพูน
สามง่าม
วชิรบารมี
สากเหล็ก
เมือง
ชัยภูมิ เทพสถิต
บำเหน็จณรงค์
จัตุรัส
ซับใหญ่
เนินสง่า
หนองบัวระเหว
เมือง
ภักดีชุมพล
บ้านเขว้า
คอนสวรรค์
หนองบัวแดง
แก้งคร้อ
นครราชสีมา ปากช่อง
สูงเนิน
สีคิ้ว
วังน้ำเขียว
เทพารักษ์
ด่านขุนทด
เมือง
ปักธงชัย
ขามทะเลสอ
โชคชัย
เฉลิมพระเกียรติ
โนนแดง
ครบุรี
พระทองคำ
โนนสูง
หนองบุญมาก
พิมาย
ขามสะแกแสง
จักราช
บ้านเหลื่อม
ห้วยแถลง
เสิงสาง
โนนไทย
แก้งสนามนาง
คง
สีดา
บัวใหญ่
ชุมพวง
ประทาย
บัวลาย
เมืองยาง
ลำทะเมนชัย
จันทบุรี นายายอาม
แก่งหางแมว
ท่าใหม่
เมือง
เขาคิชกูฏ
สอยดาว
แหลมสิงห์
มะขาม
ขลุง
โป่งน้ำร้อน
สระแก้ว เมือง
เขาฉกรรจ์
วังน้ำเย็น
คลองหาด
อรัญประเทศ
วัฒนานคร
โคกสูง
ตาพระยา
กำแพงเพชร เมือง
โกสัมพีนคร
ไทรงาม
ขาณุวรลักษบุรี
คลองขลุง
คลองลาน
ทรายทองวัฒนา
บึงสามัคคี
ปางศิลาทอง
พรานกระต่าย
ลานกระบือ
พิษณุโลก เนินมะปาง
บางกระทุ่ม
วังทอง
บางระกำ
เมือง
ขอนแก่น แวงน้อย
พล
โคกโพธิ์ไชย
หนองสองห้อง
โนนศิลา
บุรีรัมย์ โนนดินแดง
หนองกี่
โนนสุวรรณ
ละหานทราย
นางรอง
หนองหงส์
ปะคำ
เฉลิมพระเกียรติ
ลำปลายมาศ
ชำนิ
บ้านกรวด
ประโคนชัย
บ้านใหม่ไชยพจน์
พลับพลาชัย
เมือง
กระสัง
พุทไธสง
นาโพธิ์
คูเมือง
ตราด เขาสมิง
บ่อไร่
แหลมงอบ
เมือง
เกาะช้าง
คลองใหญ่
น่าน
(สำหรับสมาชิกที่ปฏิบัติงานอยู่ที่จ.น่าน)
ทุกอำเภอ

ในการไปทำนิติกรรมกลุ่มหลักทรัพย์ที่ 4-5

  • ให้สมาชิกจัดหารถรับ - ส่งเจ้าหน้าที่ในวันที่ไปทำนิติกรรม

ในการไปทำนิติกรรมกลุ่มหลักทรัพย์ที่ 6-7 และ จ.น่าน

  • มอบหมายให้คณะกรรมการเป็นผู้เดินทางไปทำนิติกรรม
ข้อ 2 คุณสมบัติผู้กู้ (เฉพาะสมาชิก)

2.1 กรณีข้าราชการและลูกจ้างประจำ ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ และมีอายุการเป็นสมาชิกติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

2.2 กรณีสมาชิกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานประจำหน่วยงาน และพนักงานที่สังกัดหน่วยงานวิสาหกิจในกำกับของมหาวิทยาลัย ที่มีภาระหน้าที่บริหารสินทรัพย์และรายได้ จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้

2.2.1 สมาชิกที่ไม่เคยมีสัญญาเงินกู้พิเศษ (ขอยื่นกู้พิเศษใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันครั้งแรก) มีอายุการเป็นสมาชิกติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และถือสัญญาจ้างฉบับปัจจุบันมีระยะเวลา 5 ปี

2.2.2 สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานประจำหน่วยงานต้องมีมูลค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ขอกู้

2.2.3 สำหรับพนักงานที่สังกัดหน่วยงานวิสาหกิจในกำกับของมหาวิทยาลัย จะต้องมีมูลค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของยอดเงินที่ขอกู้

2.2.4 เมื่อได้รับการอนุมัติเงินกู้แล้วสมาชิกจะต้องส่งค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของเงินได้รายเดือน

2.2.5 สมาชิกที่มีความประสงค์จะกู้เงินกับสหกรณ์จะต้องทำบันทึกข้อตกลงโอนเงินเดือนหลังหักค่าใช้จ่าย (ภาษี, สปส., กสช., ฯลฯ) เข้าบัญชีออมทรัพย์ของตนเองที่มีกับสหกรณ์


ข้อ 3 หลักทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้พิเศษ จะต้องเป็นของสมาชิกหรือคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเท่านั้น โดยมีรายการ ดังนี้

3.1 ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันปลอดภาระจำนองรายอื่น

3.2 ห้องชุดที่พักอาศัยอันปลอดภาระจำนองรายอื่น

3.3 หุ้นของผู้กู้ที่มีอยู่ในสหกรณ์

3.3.1 หุ้นของผู้กู้ใช้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้นที่ตนมีอยู่ในสหกรณ์

3.3.2 กรณีที่สมาชิกต้องการกู้ฉุกเฉินจะต้องลงนามยินยอมให้กันมูลค่าหุ้นไว้สำหรับการกู้ฉุกเฉิน

3.4 เงินฝากของผู้กู้ที่มีอยู่ในสหกรณ์ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของเงินฝาก

3.5 การขอกู้พิเศษโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันร่วมกัน สามารถขอกู้ได้เฉพาะสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเท่านั้น 


ข้อ 4 เอกสารประกอบการยื่นกู้พิเศษ

4.1 ใบแจ้งยอดเงินเดือน/ใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบุคลากร (ฉบับเดือนล่าสุด ก่อนเดือนกู้)

สำเนาบัตรประชาชนผู้กู้/คู่สมรส/ผู้ถือกรรมสิทธิ์

  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้/คู่สมรส/ผู้ถือกรรมสิทธิ์
  • สำเนาทะเบียนสมรส/สำเนาทะเบียนหย่า
  • ใบยินยอมคู่สมรส (ขอได้ที่สหกรณ์ทุกจุดบริการ หรือ พิมพ์จากเว็บไซต์สหกรณ์)
  • สำเนาทะเบียนบ้านของหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน (กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับสำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้)
  • สำเนาโฉนดขนาดเท่าฉบับจริงครบทุกหน้า (ต้องไม่ใช้ฉบับสำนักงานที่ดิน) หนังสือรับรองราคาประเมินจากกรมที่ดิน/พิมพ์จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์
  • แผนที่ตั้งหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน
  • หลักทรัพย์ที่เป็นที่ดินว่างเปล่าต้องมีหมุดหลักเขตให้เห็นตัวเลขชัดเจนตรวจสอบได้ อย่างน้อย 2 หมุดหลักเขตในแนวทแยง หรือ 3 หมุดหลักเขตที่สามารถอนุมานสัณฐานของที่ดินได้ หรือนำเสนอภาพถ่ายจาก LandsMaps มาประกอบ
  • กรณีมีการต่อเติม แก้ไข ดัดแปลงสิ่งปลูกสร้าง ที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน จะต้องมีเอกสารการขออนุญาตต่อเติมสิ่งปลูกสร้าง
  • การสร้างบ้านใหม่จะต้องมีแบบแปลนเอกสารการของบ้านเลขที่ และเอกสารการของอนุญาตสร้างบ้าน

4.1 กรณีซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยตรงจากโครงการและหรือคณะบุคคล ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้ประกอบการ หรือการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลุกสร้างจากบริษัทที่ไม่ได้รับการจัดสรร ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมคือ

4.1.1 สัญญาจะซื้อจะขายจากโครงการระบุชื่อสมาชิกและ/หรือ คู่สมรสเป็นผู้ซื้อรายแรก

4.1.2 หนังสือแนบท้ายสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีที่พื้นที่ในหนังสือแสดงความกรรมสิทธิ์ฯ และสัญญาไม่ตรงกัน

4.1.3 สื่อโฆษณา โบรชัวร์, แผ่นพับแบบบ้าน, ใบเสนอราคา

4.1.4 หนังสือจดทะเบียนจากบริษัท พร้อมสำเนาบัตร, ทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม

4.1.5 หนังสือมอบอำนาจจากบริษัท พร้อมสำเนาบัตร, ทะเบียนบ้านผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

4.1.6 สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย

4.2 กรณีซื้ออาคารชุดโดยตรงจากโครงการและหรือคณะบุคคล ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้ประกอบการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมคือ

4.2.1 สัญญาจะซื้อจะขายจากโครงการระบุชื่อสมาชิกและ/หรือ คู่สมรสเป็นผู้ซื้อรายแรก

4.2.2 หนังสือแนบท้ายสัญญาจะซื้อจะขาย (กรณีที่เนื้อทีไม่ตรงกับสัญญาจะซื้อจะขาย และในสัญญา จะซื้อจะขายไม่ได้ระบุเงื่อนไขในการซื้อขายของพื้นที่เพิ่ม/ลด)

4.2.3 สื่อโฆษณา โบรชัวร์, แผ่นพับแบบบ้าน, ใบเสนอราคา

4.2.4 หนังสือจดทะเบียนจากบริษัท พร้อมสำเนาบัตร, ทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม

4.2.5 หนังสือมอบอำนาจจากบริษัท พร้อมสำเนาบัตร, ทะเบียนบ้านผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

4.2.6 อช.10 หนังสือจดทะเบียนอาคารชุด

4.2.7 อช.11 ประกาศการจดทะเบียนอาคารชุด

4.2.8 อช.13 หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด

4.2.9 อช.14 ประกาศการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด

4.2.10 สำเนาทพเบียนบ้านห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย

4.3 กรณีกู้ซื้อที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุดจากบุคคลอื่น (มือสอง)

4.3.1 สัญญาจะซื้อจะขายที่ทำขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือผู้ซื้อกับตัวแทนของผู้ขาย พร้อมระบุ ราคาขายให้ชัดเจน ทั้งนี้ ห้ามแก้ไข ขูดขีด/ฆ่า ใดๆ ในสัญญาดังกล่าว

4.3.2 หนังสือรับรองการปลอดอายัดจากนิติบุคคล

4.4 กรณีไถ่ถอนจากธนาคาร ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมคือ

4.4.1 สัญญาจำนอง, สัญญาเงินกู้

4.4.2 ใบเสร็จชำระหนี้ธนาคารเดือนล่าสุดจากธนาคาร

4.4.3 หนังสือรับรองการปลอดอายัดจากนิติบุคคล

4.5 กรณีสมาชิกได้รับ “ให้” หรือ "โอนมรดก" จะต้องมีเอกสารสัญญา “ให้” หรือ "โอนมรดก" จากสำนักงานที่ดิน มาประกอบการยื่นกู้


ข้อ 5 หลักเกณฑ์การพิจารณาหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด)

5.1 ที่ดิน

5.1.1 ต้องเป็นที่ดินที่มีทางเข้า-ออก และรถยนต์ต้องเข้าถึงที่ตั้งหลักทรัพย์

5.1.2 สำหรับสมาชิกที่มีสัญญาเงินกู้เดิมหรือกู้ซื้อระหว่างจำนอง หากรถยนต์เข้าไม่ถึงที่ตั้งหลักทรัพย์ ต้องมีทางสาธารณะกว้างไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร จากถนนซอย หรือถนนใหญ่ และต้องมีระบบสาธารณูปโภค

5.1.3สำหรับสมาชิกที่ยื่นกู้เป็นครั้งแรก หากรถยนต์เข้าไม่ถึงที่ตั้งหลักทรัพย์ ต้องมีทางสาธารณะกว้างไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร จากถนนซอย หรือถนนใหญ่ และต้องมีระบบสาธารณูปโภค

5.1.4 กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 3, กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 4, และกลุ่มหลักทรัพย์ที่ 5 กรณีที่เป็นที่ดินว่างเปล่า (ไม่มีสิ่งปลูกสร้างถาวร) จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ หรือมีมูลค่าที่ดินตามราคประเมินจากทางราชการไม่น้อยกว่า 300,000.00 บาท

5.1.5 ที่ดินต้องมีหมุดหลักเขตให้เห็นตัวเลขชัดเจนตรวจสอบได้ อย่างน้อย 2 หมุดหลักเขตในแนวทแยง หรือ 3 หมุดหลักเขตที่อนุมานสัณฐานของที่ดินได้

5.2 ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างใหม่/ห้องชุด

5.2.1 ต้องแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่อาศัย

5.2.2 มีบ้านเลขที่แสดงให้เห็นว่าเป็นบ้านที่ใช้ค้ำประกัน (ห้ามใช้ป้ายกระดาษปิด) มีมิเตอร์น้ำ มีมิเตอร์ไฟฟ้า

5.2.3 ต้องมีทางเข้า-ออก และรถยนต์ต้องเข้าถึงที่ตั้งหลักทรัพย์

5.2.4 กรณีที่รถยนต์เข้าไม่ถึงที่ตั้งหลักทรัพย์ ต้องมีทางสาธารณะกว้างไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร จากถนนซอย หรือถนนใหญ่


ข้อ 6 แนวการปฏิบัติการไปสำรวจหลักทรัพย์

6.1 อนุกรรมการจะตรวจสอบที่ตั้งของหลักทรัพย์ ให้ถือหมุดหลักเขตที่ดินที่ปรากฏอยู่บนที่ดินจะต้องตรง

กับเลขที่หมุดหลักเขตในโฉนดอย่างน้อย 2 หมุดหลักเขตในแนวทแยง หรือ 3 หมุดหลักเขตที่สามารถอนุมานสัณฐานของที่ดินได้ หรือใช้ Application LandsMaps ประกอบการตรวจสอบที่ตั้งของหลักทรัพย์ กรณีที่หลักทรัพย์มีสิ่งปลูกสร้าง จะต้องตรวจสอบบ้านเลขที่ข้างเคียงประกอบ

6.2 อนุกรรมการจะตรวจสอบทางเข้า – ออกของหลักทรัพย์ โดยต้องเป็นที่ดินที่มีทางเข้า – ออกและ

รถยนต์เข้าถึงที่ตั้งหลักทรัพย์

6.3 อนุกรรมการจะตรวจสอบสภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดินว่างเปล่าทั้งแปลง เช่น ปล่อยรกร้าง หรือ    เป็นพื้นที่การเกษตร

6.4 อนุกรรมการจะตรวจสอบรายละเอียดอาคาร โครงสร้างอาคาร ความแข็งแรง วัสดุอาคาร สภาพ

การดูแลรักษา

6.4.1 ห้องหมายถึงบริเวณที่มีหลังคาและฝากั้นถาวรทั้ง 4 ด้าน

6.4.2 ให้วัดบริเวณที่มีหลังคาและฝากั้นถาวรทั้ง 4 ด้าน

6.4.3 หลังคาที่ยื่นมีฝากั้นถาวรไม่ครบทั้ง 4 ด้านให้วัดช่วงเสา ราคาจะลดหลั่นลงมา

6.5      อนุกรรมการจะตรวจสอบสาธารณูปโภค 

6.6      หลักสำคัญของการถ่ายรูปหลักทรัพย์ที่จะประเมินราคา ให้อนุกรรมการ

6.6.1    ถ่ายภาพทางเข้า – ออกหลักทรัพย์ เลขที่บ้าน และบริเวณใกล้เคียงที่ดิน

6.6.2    ถ่ายภาพถนนผ่านหน้าหลักทรัพย์  โดยต้องถ่ายรูปให้เห็นสภาพของถนนให้ชัดเจนและถ่ายรูปให้สามารถมองเห็นหลักทรัพย์ได้ว่าอยู่ฝั่งใดของถนน

6.6.3    ถ่ายภาพสภาพหลักทรัพย์  การถ่ายรูปหลักทรัพย์ อนุกรรมการจะต้องถ่ายภาพให้เห็นรายละเอียดของหลักทรัพย์ เช่น สภาพด้านหน้า  สภาพด้านใน และอื่น ๆ ที่เห็นสมควรว่าจะส่งผลต่อมูลค่าหลักประกัน ทั้งนี้ ควรถ่ายให้เห็นหลักทรัพย์โดยตรง ไม่ควรถ่ายเอียงเพราะจะมองเห็นรายละเอียดไม่ครบ

6.7      ให้อนุกรรมการบันทึกข้อมูลและรายละเอียดตามข้อเท็จจริงลงในแบบพิมพ์ที่กำหนดให้ครบถ้วน

6.8      เอกสารประกอบการไปสำรวจหลักทรัพย์ มีดังนี้

6.8.1 บันทึกข้อคิดเห็นของอนุกรรมการประเมินราคาหลักทรัพย์

6.8.2 แผนที่ตั้งหลักทรัพย์

6.8.3 สำเนาโฉนดครบทุกหน้า

6.8.4 ใบประเมินราคากรมที่ดิน

6.8.5 สัญญาจะซื้อจะขาย (กรณีกู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างใหม่ หรือห้องชุดใหม่)

6.8.6 รายละเอียดหลักทรัพย์ค้ำประกัน

6.8.7 สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ค้ำประกัน (กรณีที่มีสิ่งปลูกสร้างบนหลักทรัพย์)


ข้อ 7 การกำหนดจำนวนงวดชำระหนี้

7.1 กรณีจำนวนเงินที่ให้สมาชิกกู้พิเศษไม่เกินสิทธิของผู้กู้ในการกู้สามัญ จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกินงวดชำระของกู้สามัญ และต้องส่งชำระแบบต้นเงินคงที่ดอกเบี้ยต่างหาก

7.2 กรณีจำนวนเงินที่ให้สมาชิกกู้พิเศษเกินกว่าสิทธิการกู้สามัญ แต่ไม่เกิน 1,500,000.- บาท จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกิน 180 งวด

7.3 กรณีจำนวนเงินให้สมาชิกกู้พิเศษเกินกว่า 1,500,000.- บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000.- บาท จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกิน 240 งวด

7.4 กรณีจำนวนเงินให้สมาชิกกู้พิเศษเกินกว่า 3,000,000.- บาท จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกิน 300 งวด

7.5. งวดการชำระหนี้ สมาชิกจะต้องชำระหนี้ครบภายในอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และ/หรือวันเกษียณอายุงาน ยกเว้นข้าราชการบำนาญ / ลูกจ้างรับเงินบำเหน็จรายเดือน / ลูกจ้างรับบำเหน็จเกษียณอายุ


ข้อ 8 การกู้พิเศษวนซ้ำ

8.1     กรณีหลักทรัพย์ที่เป็นประกันประเภทที่ดิน / ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จะต้องชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญามาแล้วไม่น้อยกว่า 24 งวดเดือน  สามารถกู้วนซ้ำได้โดยจะต้องไปประเมินราคาหลักทรัพย์ใหม่และใช้ค้ำประกันได้ตามหลักเกณฑ์ฯ 

8.2  กรณีที่ชำระหนี้มาไม่ครบ 24 งวดเดือนสำหรับที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หากสมาชิกประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงอื่น / ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงอื่น/ สร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่บนที่ดินที่จำนองร่วมกับหลักทรัพย์อื่น ๆ จะต้องนำหลักทรัพย์ที่จะซื้อหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่มาค้ำประกันร่วมกับหลักทรัพย์เดิมด้วย และสมาชิกจะต้องทำบันทึกขอยื่นกู้พิเศษเป็นกรณีพิเศษ


ข้อ 9 สิทธิ์ในการกู้

9.1 สมาชิกที่มีหนี้เงินกู้ให้ยึดถือวันเกษียณอายุงานและ/หรืออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ตามประเภทการจ้างงาน และจะต้องชำระหนี้เงินกู้จนครบ

9.2 สมาชิกที่เป็นข้าราชการและ/หรือลูกจ้างที่ออกนอกระบบเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยรับเงินบำนาญ และ/หรือบำเหน็จรายเดือน สามารถนำเงินดังกล่าวมาคำนวณในการชำระหนี้ และสิทธิในการกู้รวมกับเงินเดือนปัจจุบันได้ โดยต้องใช้สิทธิการกู้สถานภาพการทำงานปัจจุบัน

9.3 สมาชิกที่เป็นข้าราชการและ/หรือลูกจ้างประจำที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สามารถใช้สิทธิตรวจสอบประมาณการเงินบำนาญและ/หรือบำเหน็จรายเดือนและ/หรือบำเหน็จเกษียณอายุ เพื่อขยายงวดในการชำระหนี้ (ยังไม่เกษียณอายุ) ทั้งนี้ สมาชิกจะต้องส่งชำระหนี้ครบภายหลังจากเกษียณแล้วไม่เกินอายุ 75 ปีบริบูรณ์ หรือมีหนี้คงเหลือน้อยกว่ามูลค่าหุ้นไม่เกินร้อยละ 95 ของตนเอง ณ วันที่ทำสัญญา

9.4 สมาชิกที่เกษียณอายุรับเงินบำนาญและ/หรือบำเหน็จรายเดือน ไม่พอหักชำระหนี้ สามารถยื่นกู้ในวงเงินบำนาญและ/หรือบำเหน็จรายเดือน เพื่อเปลี่ยนสัญญาขยายงวดได้ และจะต้องส่งชำระหนี้ครบภายหลังจากเกษียณแล้วไม่เกินอายุ 75 ปีบริบูรณ์ หรือมีหนี้คงเหลือน้อยกว่ามูลค่าหุ้นไม่เกินร้อยละ 95 ของตนเอง ณ วันที่ทำสัญญา

9.5 สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญและ/หรือลูกจ้างรับบำเหน็จรายเดือน และมีอายุไม่เกิน 75 ปีบริบูรณ์ สามารถกู้พิเศษโดยใช้อสังหาริมทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้พิเศษได้และต้องส่งชำระหนี้ไม่เกินอายุ 75 ปีบริบูรณ์ หรือมีหนี้คงเหลือน้อยกว่ามูลค่าหุ้นไม่เกินร้อยละ 95 ของตนเอง ณ วันที่ทำสัญญา

9.6 การกู้พิเศษโดยใช้หุ้นเป็นหลักประกันจะต้องเกินกว่าสิทธิการกู้สามัญ หากสมาชิกต้องการกู้น้อยกว่าสิทธิการกู้สามัญจะต้องส่งชำระไม่เกินงวดชำระหนี้ของสามัญ และต้องส่งชำระต้นเงินคงที่ ดอกเบี้ยต่างหาก


ข้อ 10 การเลื่อนทำนิติกรรม และเลื่อนรับเงินกู้

10.1 สมาชิกสามารถขอเลื่อนการทำนิติกรรม และเลื่อนรับเงิ</