การสมัครสมาชิก

คุณสมบัติของผู้ขอเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด

1.  เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
2.  เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
3.  เป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือเป็นลูกจ้างรับเงินเดือนประจำหรือเป็น
พนักงานมหาวิทยาลัย หรือเป็นพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นสังกัด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือเป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด
4.  เป็นผู้มีลักษณะนิสัยดี
5.  มิได้เป็นสมาชิกในสหกรณ์อื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน

     ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด

      1. ยื่นใบสมัครและเอกสารประกอบที่ต้องใช้ในการสมัครสมาชิกสหกรณ์
ออมทรัพย์จุฬาฯ ดังต่อไปนี้

  1. ใบสมัคร
  2. หนังสือยินยอมให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหักเงิน
  3. หนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  5. ต้องมีสมาชิกคนหนึ่งเซ็นรับรอง***ในกรณีพนักงานมหาวิทยาลัย***
    5.1.  หนังสือรับรองและยินยอมหักเงินนำส่ง ให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ จากหน่วยงานต้นสังกัด
    5.2. สำเนาคำสั่งบรรจุเป็นพนักงาน และสำเนาสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย

     2. เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬา
     3. กรอกใบคำขอเปิดบัญชีเงินฝากและขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็มของธนาคารกรุง ศรีอยุธยา (มหาชน) จำกัดซึ่งจะใช้เป็นบัตรประจำตัวสมาชิกสหกรณ์
ออมทรัพย์
จุฬา ด้วย

         3.1. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท
                  ซึ่งเงินจำนวนนี้จะหักจากเงินได้รายเดือนของสมาชิก ณ ที่จ่ายในเดือนที่ได้รับเข้าเป็นสมาชิก
         3.2. ยื่นใบสมัครที่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯได้ทุกวันทำการของเดือนนั้น ๆ และจะได้รับการพิจารณารับเข้าเป็นสมาชิกในเดือน ถัดไป

คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกสมทบสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ
2. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
3. เป็นบุคคลดังต่อไปนี้

3.1   เป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของสมาชิก (ที่ไม่ใช่สมาชิกสมทบ)
3.2   บุคคลในองค์กรหรือหน่วยงานที่ขาดคุณสมบัติที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกสมทบสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.ยื่นใบสมัครและเอกสารประกอบที่ต้องใช้ในการสมัครสมาชิกสมทบสหกรณ์
ออมทรัพย์จุฬาฯ ดังต่อไปนี้

  1. ใบสมัคร
  2. คำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  3. (สำเนา) บัตรประจำตัวประชาชน
  4. (สำเนา) ทะเบียนบ้าน
  5. (สำเนา) ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  6. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานในจุฬาฯ
  7. หนังสือแสดงเจตนาการตั้งผู้รับโอนประโยชน์

การออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาเหตุที่สมาชิกต้องออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ มีดังนี้

  1. ตาย
  2. วิกลจริต
  3. ลาออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ
  4. ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
  5. ถูกออกจากราชการหรืองานประจำโดยมีความผิด
  6. ถูกให้ออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ
  7. ลาออกจากราชการหรืองานประจำโดยไม่มีความผิด และมีอายุการเป็นสมาชิกไม่ถึง 10 ปี

   **เมื่อออกจากสมาชิกแล้วต้องปิดบัญชีเงินฝากทุกประเภทในสหกรณ์ และถอนหุ้นให้เรียบร้อย**

     การลาออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ

สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สินต่อสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ทั้งในฐานะผู้กู้ หรือผู้ค้ำประกันอาจลาออก
จากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ไดโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ

      การให้ออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ
สมาชิกอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ด้วยเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือถือหุ้นครั้งแรก
  • ขาดส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนถึงสามงวดติดต่อกัน หรือขาดส่งรวมถึงหกงวด ทั้งนี้โดยมิได้
    รับอนุญาตจากคณะกรรมการดำเนินการฯ
  • นำเงินกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้กู้นั้น
  • ไม่จัดการแก้ไขหลักประกัน (สำหรับเงินกู้) ที่เกิดบกพร่องให้คืนดีภายในเวลาที่คณะกรรมการ
    ดำเนินการฯ กำหนด
  • ค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ (ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ย) เป็นเวลาถึงสองเดือนหรือผิดนัดการส่ง
    เงินงวดชำระหนี้ดังว่านั้นถึงสามคราว สำหรับเงินกู้รายหนึ่ง
  • ไม่ให้ข้อความจริงเกี่ยวกับหนี้สินของตนแก่ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือ เมื่อจะก่อความผูกพันในหนี้สินต่อสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกัน หรือเมื่อมีความผูกพันในหนี้สินต่อสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ อยู่แล้ว
  • จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบ หรือมติของสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ หรือพฤติกรรมใดๆ อันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ไม่ว่าโดยประการใด ๆ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ได้สอบสวนพิจารณา ปรากฏว่าสมาชิก
    มีเหตุใดๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้และได้ลงมติให้สมาชิกออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม
    แห่ง จำนวนกรรมการดำเนินการฯ ที่ประชุมแล้วก็เป็นอันถือว่าสมาชิกนั้นถูกให้ออกจาก
    สหกรณ์จุฬาฯ

เหตุที่สมาชิกสมทบต้องออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.ตาย
2.วิกลจริต
3.ลาออกจากสหกรณ์
4.ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
5.ถูกให้ออกจากสหกรณ์
การลาออกจากสหกรณ์ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ

หากไม่ขัดต่อข้อบังคับก็ให้ออกได้ และเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ
การให้สมาชิกสมทบออกจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมาชิกสมทบอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุดังนี้

  • ไม่ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือไม่ถือหุ้น ครั้งแรกเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 บาท เมื่อได้ปฏิบัติแล้วจึงจะถือว่าได้สิทธิในฐานะสมาชิกสมทบ
  • นำเงินกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้กู้นั้น
  • ค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ (ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ย) เป็นเวลาถึงสองเดือน หรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ถึงสามคราว สำหรับเงินกู้รายหนึ่ง
  • ไม่ให้ข้อความจริงเกี่ยวกับหนี้สินของตน แก่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือเมื่อจะก่อความผูกพันในหนี้สินต่อสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ
  • จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือมติของสหกรณ์ หรือประพฤติการใด ๆ ส่อไป
    ในทางทุจริต หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อสหกรณ์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการสอบสวนลงมติ
    ให้สมาชิก สมทบออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการ
    ดำเนินการที่ประชุมแล้วก็เป็นอันว่าสมาชิกสมทบนั้น ถูกให้ออกจากสหกรณ์ ในกรณีที่
    สมาชิกสมทบออกจากสหกรณ์ให้คณะกรรมการดำเนินการ จำหน่ายชื่อออกจาก
    ทะเบียนสมาชิก แล้วเสนอเรื่องสมาชิกสมทบออกให้ที่ประชุมใหญ่สามัญคราวถัดไป