เงินกู้พิเศษ

หลักเกณฑ์การพิจารณาเงินกู้พิเศษ และการประเมินราคาหลักทรัพย์

ข้อ 1.  การจัดกลุ่มหลักทรัพย์ตามจังหวัด และอัตราค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์

 

 

จังหวัด/อำเภอ

 

กลุ่มหลักทรัพย์

ที่  1 ไม่เสียค่าค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์

กลุ่มหลักทรัพย์

ที่  2 ปริมณฑล

ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักทรัพย์

300.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์

ที่  3  ระยะทาง

ไม่เกิน 110 กม.ค่าธรรมเนียมในการ

ประเมินราคาหลักทรัพย์

500.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์

ที่ 4 ระยะทาง

ไม่เกิน 160 กม.ค่าธรรมเนียมในการ

ประเมินราคาหลักทรัพย์

700.00 บาท

กลุ่มหลักทรัพย์

ที่  5 ระยะทาง

ไม่เกิน 200 กม.ค่าธรรมเนียมในการ

ประเมินราคาหลักทรัพย์

900.00 บาท

กรุงเทพมหานคร

นนทบุรี

สมุทรปราการ

ปทุมธานี

กรุงเทพมหานคร

นนทบุรี

สมุทรปราการ

ปทุมธานี

       
ฉะเชิงเทรา

นครปฐม

สมุทรสาคร

สมุทรสงคราม

พระนครศรีอยุธยา

 

 

 

ฉะเชิงเทรา

นครปฐม

สมุทรสาคร

สมุทรสงคราม

พระนครศรีอยุธยา

     
ราชบุรี     บ้านโป่ง/บางแพ/

โพธาราม/ดำเนินสะดวก/

ปากท่อ/วัดเพลง

 

 

 

 

 

 

      เมือง/จอมบึง  
        บ้านคา/สวนผึ้ง
กาญจนบุรี     ท่ามะกา    
      เมือง/ท่าม่วง/พนมทวน

ด่านมะขามเตี้ย/เลาขวัญ

/ห้วยกระเจา

 
        บ่อพลอย/ไทรโยค/

หนองปรือ

เพชรบุรี       เมือง/บ้านแหลม/เขาย้อย

หนองหญ้าปล้อง/

บ้านลาด/ท่ายาง

 
        แก่งกระจาน/ชะอำ
สุพรรณบุรี

 

    เมือง/บางปลาม้า

/สองพี่น้อง

   
      ศรีประจันต์/อู่ทอง

ดอนเจดีย์/สามชุก/

เดิมบางนางบวช

 
        หนองหญ้าไซ/ด่านช้าง
อ่างทอง

 

    เมือง/ป่าโมกข์/ไชโย    
      โพธิ์ทอง/วิเศษไชยชาญ/

สามโก้/แสวงหา

 
สิงห์บุรี

 

 

      เมือง/พรหมบุรี/ท่าช้าง/

ค่ายบางระจัน/บางระจัน

/อินทร์บุรี

 
ชัยนาท

 

     

 

  เมือง/สรรพยา/หันคา

/สรรคบุรี

นครนายก     เมือง/องครักษ์/บ้านนา    
        ปากพลี  
สระบุรี

 

    เมือง/หนองแค/

หนองแซง/วิหารแดง

/ดอนพุด/เสาไห้

 

 

 
      แก่งคอย/เฉลิมพระเกียรติ/บ้านหมอ/

/หนองโดน/พระพุทธบาท/มวกเหล็ก

 
        วังม่วง
ลพบุรี

 

      เมือง/ท่าวุ้ง  
        พัฒนานิคม/บ้านหมี่/

โคกสำโรง/ลำสนธิ

/สระโบสถ์/หนองม่วง/

ท่าหลวง

ปราจีนบุรี

 

      เมือง/บ้านสร้าง/

ศรีมโหสถ/ศรีมหาโพธิ์

/ประจันตคาม

 
        กบินทร์บุรี/นาดี
ชลบุรี

 

    เมือง/พานทอง/พนัสนิคม

/บ้านบึง/ศรีราชา

   
      เกาะจันทร์/พัทยา/

บางละมุง/หนองใหญ่/

เกาะสีชัง/บ่อทอง

 
        สัตหีบ
ระยอง

 

      ปลวกแดง/บ้านฉาง  
          เมือง/นิคมพัฒนา/

วังจันทร์/บ้านค่าย/

เขาชะเมา/แกลง

 

ในการไปทำนิติกรรมกลุ่มหลักทรัพย์ที่ 4- 5

– ให้สมาชิกจัดหารถรับ – ส่งเจ้าหน้าที่ในวันที่ไปทำนิติกรรม

ข้อ 2.   คุณสมบัติผู้กู้

2.1 ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ และมีอายุการเป็นสมาชิกติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

2.2 กรณีสมาชิกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้

2.2.1   เป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปี และเมื่อรวมระยะเวลาจ้างที่เหลือของสัญญาฉบับปัจจุบันมี

ระยะเวลาตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป

2.2.2   ต้องมีมูลค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของยอดเงินที่กู้

2.2.3   เมื่อได้รับการอนุมัติเงินกู้แล้วสมาชิกจะต้องส่งค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 ของเงินได้รายเดือน

ข้อ 3.   หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันเงินกู้พิเศษ  มีดังนี้

3.1  ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันปลอดภาระจำนองรายอื่น

3.2  ห้องชุดอันปลอดภาระจำนองรายอื่น

3.3  ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุดอันปลอดภาระจำนองรายอื่น ซึ่งซื้อโดยตรงจากโครงการและหรือ
คณะบุคคล

3.3.1 ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์และสัญญาจะซื้อจะขาย

3.3.2 ระบุชื่อสมาชิกหรือคู่สมรสเป็นผู้ซื้อรายแรก

3.3.3 หลักทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านใหม่) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน

เป็นผู้ประกอบการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

3.4  หุ้นของผู้กู้ที่มีอยู่ในสหกรณ์

หุ้นของผู้กู้ที่มีอยู่ในสหกรณ์ ใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้น

กรณีที่สมาชิกต้องการใช้หุ้นค้ำประกันเงินกู้ฉุกเฉินจะต้องลงนามกำกับในเอกสารคำขอกู้พิเศษ

3.5  เงินฝากของผู้กู้ที่มีอยู่ในสหกรณ์

เงินฝากของผู้กู้ที่มีอยู่ในสหกรณ์  ใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของเงินฝาก

3.6  การกู้ร่วมซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง/อาคารชุด  ได้เฉพาะสามี – ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันเป็นของสมาชิกหรือคู่สมรสเท่านั้น  (แก้ไข มติ 1106/2558 23 มิ.ย. 2558)

 

ข้อ 4.   หลักเกณฑ์การพิจารณาหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด

4.1  ที่ดิน

4.1.1     มีสำเนาโฉนดที่ดินครบทุกหน้า

4.1.2         ต้องเป็นที่ดินที่มีทางเข้า – ออก และรถยนต์ต้องเข้าถึงที่ดิน

4.1.3         ในกรณีรถยนต์เข้าไม่ถึงที่ดิน ต้องมีทางสาธารณะกว้างไม่น้อยกว่าง 1.00 เมตร เป็นระยะทาง

ไม่เกิน 1 กิโลเมตร จากถนนซอยหรือถนนใหญ่ต้องมีระบบสาธารณูปโภค

4.1.4 ที่ดินในกลุ่มหลักทรัพย์ที่ 3  กลุ่มหลักทรัพย์ที่ 4 และกลุ่มหลักทรัพย์ที่ 5 กรณีที่เป็น

ที่ว่างเปล่า  (ไม่มีสิ่งปลูกสร้างถาวร)  จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่

4.1.5ต้องนำหนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ หรือพิมพ์ราคาประเมิน

จากเว็บไซด์ของกรมที่ดินมาประกอบคำขอกู้ทุกครั้ง เอกสารดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 6 เดือน

4.1.6         ที่ดินต้องมีหมุดหลักเขตให้ตรวจสอบได้ชัดเจน อย่างน้อย 3 หมุดหลักเขต

4.2    ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างใหม่

4.2.1         ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างใหม่ ต้องแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่อาศัย

4.2.2         (สำเนา)  โฉนดที่ดินครบทุกหน้า

4.2.3         สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร

4.2.4         ระบุรายละเอียดสิ่งก่อสร้างแนบท้ายสัญญา

4.2.5         สื่อโฆษณา  เช่น  แผ่นพับ ฯลฯ

4.2.6         ที่ดินต้องมีหมุดหลักเขตให้ตรวจสอบได้ชัดเจน

4.2.7         สิ่งปลูกสร้าง

4.2.7.1   มีบ้านเลขที่

4.2.7.2   ต้องแล้วเสร็จพร้อมอยู่อาศัย

4.2.7.3   การต่อเติมสิ่งปลูกสร้างใหม่  หมายถึงการขยายพื้นที่จากเดิมที่อยู่บนที่ดิน

และต่อเติมออกไปเพิ่มขึ้น

4.2.7.4  การปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง  หมายถึงทำการปรับปรุงในพื้นที่ที่มีแล้วให้ดีขึ้น

เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยให้คำนวณเป็นตารางเมตรว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าใด

      4.3   ห้องชุด

4.3.1   อาคารชุดต้องอยู่กลุ่มหลักทรัพย์เช่นเดียวกับที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

4.3.2   อาคารชุดที่สถาบันการเงินถือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สามารถนำมาเป็น

               หลักทรัพย์ค้ำประกันได้โดย อาคารชุดนี้ต้องอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

4.3.3    การใช้อาคารชุดเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันร่วมกับหลักทรัพย์อื่น

ยกเว้นเงินค่าหุ้นและเงินฝาก

 

ข้อ 5.   การไปสำรวจหลักทรัพย์

5.1   ตรวจสอบที่ตั้งของที่ดิน ให้ถือหลักเขตที่ดินที่ปรากฏอยู่ในที่ดินให้ตรงกับเลขที่ในหลักเขตที่ดิน

ในโฉนดอย่างน้อย  3   หมุดหลักเขต

5.2         ตรวจสอบทางเข้า – ออกของหลักทรัพย์ โดยต้องเป็นที่ดินที่มีทางเข้า – ออกและรถยนต์เข้าถึง

5.3   ตรวจสอบสภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดินว่างทั้งแปลง รกร้างหรือเป็นพื้นที่การเกษตร

5.4          ตรวจสอบรายละเอียดอาคาร โครงสร้างอาคาร ความแข็งแรง วัสดุอาคาร สภาพการดูแลรักษา

–   ห้องหมายถึงบริเวณที่มีหลังคาและฝากั้นทั้ง 4 ด้าน

–   ให้วัดบริเวณที่มีหลังคาและฝากั้นทั้ง 4 ด้าน

–   หลังคาที่ยื่นมีฝากั้นไม่ครบทั้ง 4 ด้านให้วัดช่วงเสา ราคาจะลดหลั่นลงมา

5.5   ตรวจสอบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

5.6   หลักสำคัญของการถ่ายรูปหลักทรัพย์ที่จะประเมินราคา

–    ทางเข้า – ออกหลักทรัพย์ เลขที่บ้าน และบริเวณใกล้เคียงที่ดิน

–    ถนนผ่านหน้าหลักทรัพย์  ต้องถ่ายรูปให้เห็นสภาพของถนนให้ชัดเจนและถ่ายรูปให้สามารถ

มองเห็นหลักทรัพย์ได้ว่าอยู่ฝั่งใดของถนน

–    สภาพหลักทรัพย์  การถ่ายรูปหลักทรัพย์ จะต้องถ่ายภาพให้เห็นรายละเอียดของหลักทรัพย์

เช่น สภาพด้านหน้า  สภาพด้านใน และอื่น ๆ ที่เห็นสมควรว่าจะส่งผลต่อมูลค่าหลักประกัน

ควรถ่ายให้เห็นหลักทรัพย์โดยตรง ไม่ควรถ่ายเอียงเพราะจะมองเห็นรายละเอียดไม่ครบ

5.7   บันทึกข้อมูลและรายละเอียดตามข้อเท็จจริงลงในแบบพิมพ์ที่กำหนดให้ครบถ้วน

5.8  พิมพ์รายงานจาก Google Map หรือใช้โปรแกรมแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมดิจิตอล (Point Asia)

ประกอบก่อนไปประเมินราคา

5.9  เอกสารการไปสำรวจหลักทรัพย์  มีดังนี้

5.9.1   บันทึกข้อคิดเห็นของอนุกรรมการประเมินราคาหลักทรัพย์

5.9.2   แผนที่ของหลักทรัพย์

5.9.3   สำเนาโฉนดครบทุกหน้า

5.9.4   ใบประเมินราคากรมที่ดิน

5.9.5   สัญญาจะซื้อจะขาย (กรณีกู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างใหม่ หรือห้องชุดใหม่)

ข้อ 6.   การกำหนดวันไปสำรวจหลักทรัพย์

6.1      สมาชิกยื่นกู้พิเศษได้ทุกวันทำการ จากนั้นจะนัดวันไปประเมินราคาหลักทรัพย์ในเดือนต่อไป

6.2      การกำหนดวันไปประเมินราคาหลักทรัพย์ ในหลักการจะกำหนดเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์แรก

ของเดือน  โดยจัดรถออกเป็น  2  คัน  หรือกำหนดวันทำการอื่นอีกตามความเหมาะสม

 

ข้อ 7.   การกำหนดการประเมินราคาที่ดิน

การประเมินราคาที่ดินในบริเวณต่อไปนี้  ได้กำหนดราคาที่ดินไว้ไม่เกิน 1.5  เท่าของราคาประเมิน

กรมที่ดิน  ได้แก่

7.1     ที่ดินบริเวณลาดหลุมแก้ว  ระแหง (เจดีย์หอย)

7.2     ที่ดินบริเวณบางเลน จังหวัดนครปฐม (หินมูล)

ข้อ 8.   เกณฑ์การประเมิน ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด

ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ใช้ค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 70  ของราคาหลักทรัพย์ซึ่ง

สหกรณ์ เป็นผู้ประเมิน

8.1   ที่ดิน

8.1.1   ที่ดินว่างเปล่าที่ถูกปล่อยทิ้งรกร้าง ไม่ได้ทำประโยชน์และขาดการดูแล ถนนหรือทางเข้าออก

ยังอยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการพัฒนา ให้ประเมินราคาไม่เกินราคาประเมินกรมที่ดิน

8.1.2   ที่ดินว่างเปล่าใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ทำนา ปลูกผัก หรือผลไม้ มีการดูแล

ไม่รกร้าง ถนนหรือทางเข้าออกมีการพัฒนา ให้ราคาประเมินไม่เกิน 1.3 เท่าของราคา

ประเมินกรมที่ดิน

8.1.3   ที่ดินว่างเปล่า ถมแล้ว มีสาธารณูปโภคครบ และพร้อมที่จะสร้างที่อยู่อาศัย ให้ประเมิน

ราคาไม่เกิน 1.6 เท่าของราคาประเมินกรมที่ดิน

 8.2   ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

8.2.1   ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้ราคาประเมินไม่เกิน 1.7 เท่าของราคาประเมินกรมที่ดิน

8.2.2                     ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่สมาชิกซื้อจากกรมบังคับคดีให้ประเมินตามเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้

ราคาที่ดินประเมินในอัตราขั้นต่ำโดยประมาณ 1.4 เท่าของราคาประเมินกรมที่ดิน

8.2.3                     การประเมินสิ่งปลูกสร้าง

–  สิ่งปลูกสร้าง      ประเมินราคาไม่เกินตารางเมตรละ 10,000.- บาท

–  ห้องครัว            ประเมินราคาไม่เกินตารางเมตรละ  6,000.- บาท

–  พื้นที่ใช้สอยสิ่งปลูกสร้างมีหลังคาคลุม

พื้นกระเบื้อง ประเมินราคาไม่เกินตารางเมตรละ 6,000.- บาท

พื้นปูน        ประเมินราคาไม่เกินตารางเมตรละ 4,000.- บาท

8.2.4   หลักทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ (บ้านใหม่) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้

ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค สามารถประเมินราคาได้

                           ไม่เกินราคาในสัญญาจะซื้อจะขาย

 

8.2.5         การคำนวณราคาบ้านใหม่ กรณีที่สมาชิกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโครงการหรือ

คณะบุคคลโดยตรงตามราคาจะซื้อจะขาย  ดังนี้

8.2.5.1    ราคาที่ดิน

–  ต้องมีราคาประเมินกรมที่ดิน และให้ใช้ราคาประเมินกรมที่ดินคูณ 1.7 เท่า

8.2.5.2    ราคาสิ่งปลูกสร้าง

–  ใช้ราคาจะซื้อจะขายเต็มจำนวนหักราคาที่ดินจะเป็นราคาบ้านเมื่อรวมแล้วต้องได้

เท่ากับราคาจะซื้อจะขาย

8.2.6   หลักทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ (บ้านใหม่) ในที่ดินของตนเอง

8.2.6.1  ให้ประเมินราคาที่ดินเป็นไปตามเกณฑ์ของสหกรณ์

8.2.6.2   บ้านใหม่ที่สร้างในที่ดินสมาชิก ต้องมีสัญญาจ้างสร้างบ้านโดยบริษัทที่เชื่อถือได้

ซึ่งราคาประเมินจะไม่เกินราคาที่ระบุในสัญญาจ้าง

    8.3   ห้องชุด

8.3.1   ห้องชุดที่เป็นผู้ซื้อรายแรกจากนิติบุคคล ประเมินราคาโดยใช้ราคาในสัญญาจะซื้อจะขาย 100%

8.3.2   ห้องชุดของสมาชิก – คู่สมรส ที่โอนกรรมสิทธิ์แล้ว

ประเมินราคาไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินกรมที่ดิน

8.3.3   ห้องชุดที่สมาชิกซื้อตรงจากโครงการที่เป็นคณะบุคคล ประเมินราคาให้ 70% ของราคาที่

คณะอนุกรรมการประเมินราคาหลักทรัพย์เป็นผู้ประเมิน และไม่เกินราคาในสัญญาจะซื้อจะขาย8.3.4  ห้องชุดที่สมาชิกซื้อต่อบุคคลอื่น(มือสอง) ประเมินราคาให้ไม่เกิน 70 % ของราคาประเมิน
กรมที่ดิน

8.3.5    การใช้อาคารชุดเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันร่วมกับหลักทรัพย์อื่น
ยกเว้นเงินค่าหุ้นและเงินฝาก

ข้อ 9.   การประเมินราคาหลักทรัพย์

9.1       ให้ยึดถือราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นหลัก กรรมการผู้ไปประเมินราคาให้พิจารณาจำนวนเท่าที่

จะนำมาคูณกับราคาประเมินของกรมที่ดินเท่านั้น เมื่อคูณแล้วราคาประเมินให้ปัดเศษทิ้ง ให้หน่วย

เป็นหลักร้อย ยกเว้นราคาที่คูณแล้วราคาประเมินเป็นหลักร้อยให้ปัดเศษเป็นหลักสิบ

9.2       กรณีที่ดินแปลงเดียวกัน ราคาประเมินกรมที่ดินแตกต่างกันให้นำราคาประเมินสูงสุดมาคิดคำนวณ

9.3       กรณีราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินเพิ่มขึ้น สมาชิกสามารถร้องขอให้อนุกรรมการไปประเมิน

ราคาหลักทรัพย์ใหม่ได้

 

 

ข้อ 10.   การกำหนดจำนวนงวดชำระหนี้

ตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้พิเศษ พ.ศ.2555  ได้กำหนดจำนวนงวดชำระหนี้ เป็นดังนี้

10.1 กรณีจำนวนเงินที่ให้สมาชิกกู้พิเศษไม่เกินสิทธิของผู้กู้ในการกู้สามัญ จำนวนงวดที่ชำระหนี้

ต้องไม่เกิน 96 งวด

10.2 กรณีจำนวนเงินที่ให้สมาชิกกู้พิเศษเกินกว่าสิทธิการกู้สามัญ แต่ไม่เกิน 1,500,000.- บาท

จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกิน 180 งวด

10.3 กรณีจำนวนเงินให้สมาชิกกู้พิเศษเกินกว่า 1,500,000.- บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000.- บาท

จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกิน 240 งวด

10.4 กรณีจำนวนเงินให้สมาชิกกู้พิเศษเกินกว่า 3,000,000.- บาท จำนวนงวดที่ชำระหนี้ต้องไม่เกิน 300 งวด

10.5 งวดการชำระหนี้ต้องชำระภายในอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และ/หรือวันเกษียณอายุงาน ยกเว้น

ข้าราชการบำนาญ ลูกจ้างรับเงินบำเหน็จรายเดือน

ข้อ 11.   การกู้พิเศษวนซ้ำ  

11.1 หลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จะต้องชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาเดิมมาแล้ว

ไม่น้อยกว่า 24 เดือน  (กรณีหลักทรัพย์เก่า)  

11.2 กรณีหลักทรัพย์ใหม่ประเมินเดิม 100% ส่งมาครบ 24 เดือน สามารถกู้วนซ้ำโดยใช้ราคาประเมินเดิม

100%  หลังจากครบ 72 เดือนนับจากวันที่คณะกรรมการไปประเมินราคา จะต้องไปประเมินราคาใหม่

วงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 70%  (แก้ไข 1 พฤษภาคม 2559)

11.3 หลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันเป็นที่ดินว่างเปล่า จะต้องชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญามาแล้วไม่น้อยกว่า

30 งวดเดือน

11.4 กรณีชำระหนี้มาไม่ครบ 24 งวดเดือน และ/หรือ 30 งวดเดือนสำหรับที่ว่างเปล่า หากสมาชิกประสงค์จะ

ซื้อที่ดินแปลงอื่น / ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงอื่น/ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่บนที่ดินที่จำนองร่วมกับหลักทรัพย์อื่นๆ  จะต้องนำหลักทรัพย์ที่จะซื้อหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่มาค้ำประกันร่วมกับหลักทรัพย์เดิมด้วย

11.5 กรณีราคาประเมินกรมที่ดินต่ำกว่าราคาประเมินเดิมที่เคยประเมินไว้ ให้ใช้ราคาประเมิน

กรมที่ดินในปัจจุบันเป็นเกณฑ์ โดยสหกรณ์เป็นผู้ไปประเมินใหม่

11.6 การกู้เงินพิเศษวนซ้ำ ต้องไปประเมินราคาหลักทรัพย์ใหม่ (วันที่แก้ไข  22 กรกฎาคม 2559)

(1)     การกู้เงินพิเศษวนซ้ำโดยใช้หลักทรัพย์เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้นับจากวันที่ประเมินราคาหลักทรัพย์ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 72 เดือน

(2)    การกู้เงินพิเศษวนซ้ำโดยใช้หลักทรัพย์ที่เป็นที่ดินว่างเปล่า ให้นับจากวันที่ประเมินราคาหลักทรัพย์ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 72 เดือน

 11.7 อาคารชุดไม่มีการกู้วนซ้ำ

 

ข้อ 12.   สิทธิในการกู้

12.1  ให้ยึดถือวันเกษียณอายุงาน จะต้องชำระหนี้เงินกู้จนครบ

12.2  สมาชิกที่เป็นข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสอบประมาณการ

เงินบำนาญรายเดือน และ/หรือ บำเหน็จรายเดือนในการชำระหนี้

13.3  สมาชิกที่รับเงินบำนาญ/บำเหน็จรายเดือน หากเงินบำนาญ/บำเหน็จรายเดือนไม่พอหักชำระหนี้

สามารถยื่นกู้ในวงเงินเดือนเพื่อเปลี่ยนสัญญาขยายงวดได้ โดยไม่ขอรับเงินเพิ่ม

12.3  สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ/รับบำเหน็จรายเดือน และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ สามารถ

ใช้อสังหาริมทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้พิเศษได้

12.4  การกู้เงินพิเศษโดยใช้หุ้นค้ำประกันนั้นจะต้องเกินกว่าสิทธิการกู้เงินสามัญ

12.5  ข้าราชการ และ/หรือลูกจ้างที่ออกนอกระบบเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยรับเงินบำนาญ และ/

หรือบำเหน็จรายเดือน สามารถนำเงินดังกล่าวมาคำนวณในการชำระหนี้ และสิทธิในการกู้

รวมกับเงินเดือนปัจจุบันได้ โดยต้องใช้สิทธิการกู้สถานภาพการทำงานปัจจุบัน

12.6  การกู้พิเศษเพื่อซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำนอง  ให้ประเมินหลักทรัพย์ใหม่  และนำเสนอ

พิจารณาในคณะอนุกรรมการประเมินราคาหลักทรัพย์  ทั้งนี้การประเมินราคาใหม่ต้องไม่ประเมินราคา

สูงกว่าราคาประเมินเดิม

 

ข้อ 13.  การเลื่อนทำนิติกรรม และเลื่อนรับเงินกู้

–                   สมาชิกสามารถขอเลื่อนการทำนิติกรรม และเลื่อนรับเงินกู้ได้ไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่

คณะกรรมการดำเนินการมีมติอนุมัติ

ข้อ 1การยกเลิกการกู้

–                   สมาชิกที่ได้รับอนุมัติแล้วขอยกเลิกการกู้เพื่อเพิ่มวงเงินกู้ ให้ยื่นกู้ใหม่ได้ในเดือนถัดไป  (มติ 1107/58 วันที่

21 กรกฎาคม 2558)

ข้อ 15.  การไถ่ถอนโฉนดคืน

สมาชิกจะต้องกรอกเอกสารคำขออนุมัติไถ่ถอนโฉนด และเตรียมเอกสารประกอบการขออนุมัติไถ่ถอน ดังนี้

–                   เตรียมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ และ / หรือสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจ (ขอได้จากเจ้าหน้าที่เงินกู้) มาแจ้งความประสงค์ขอไถ่ถอนโฉนดคืน